2/08/2555

อาณาจักรอยุธยา

กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2209) วาดโดยบริษัทดัตช์ตะวันออก

อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในอดีตตั้งแต่ พ.ศ. 1893-2310 มีเมืองหลวงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองจนอาจถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคสุวรรณภูมิ อีกทั้งยังเป็นอาณาจักรที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน ดัตช์ และฝรั่งเศส เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล โดยมีประเทศราชแผ่ขยายไปจนถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนานและมณฑลชานสี อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมมลายูในปัจจุบัน

กรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2209) วาดโดยบริษัทดัตช์ตะวันออก
กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนบริเวณซึ่งมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 สาย อันได้แก่ แม่น้ำป่าสักทางทิศเหนือ, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำลพบุรีทางทิศตะวันออก เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่พระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้ง 3 สาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศด้วย
ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพระนครศรีอยุธยา ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวัติ

จุดเริ่มต้น
ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร
ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและพิจารณาชัยภูมิเพื่อตั้งอาณาจักรใหม่ และตัดสินพระทัยสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม)  และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712 ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 (พ.ศ.นี้เทียบจาก จ.ศ. แต่จะตรงกับ ค.ศ. 1351) ชื่อว่า กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานี บุรีรมย์อุดมมหาสถานประวัติศาสตร์บางแห่ง[ต้องการอ้างอิง]ระบุว่าเกิดโรคระบาดขึ้น พระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงศรีอยุธยาทื่มมสทรีเ
การขยายดินแดน
กรุงศรีอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอาณาจักรด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธม (พระนคร) ได้อย่างเด็ดขาดในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร
การล่มสลายของอาณาจักร
ดูเพิ่มที่ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
ช่วงสมัยรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระเจ้าเอกทัศกับพระเจ้าอุทุมพร เนื่องจากพระองค์ทรงเลือกพระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ไม่เป็นไปตามราชประเพณี แต่พระเจ้าเอกทัศก็ทวงบัลลังก์ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ครั้นในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรงนำทัพมารุกรานอาณาจักรอยุธยา พระเจ้าอุทุมพรทรงถูกเรียกตัวมาบัญชาการตั้งรับพระนคร แต่ภายหลังจากที่กองทัพพม่ายกกลับนั้น พระองค์ก็ได้ลาผนวชดังเดิม
ในปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ บุตรของพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายเหนือภายใต้การบังคับของเนเมียวสีหบดี และฝ่ายใต้ภายใต้การนำของมังมหานรธา และมุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาทำการตั้งรับอย่างเข้มแข็ง และสามารถต้านทานการปิดล้อมของกองทัพพม่าไว้ได้นานถึง 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการล่มสลายได้ กองทัพพม่าสามารถเข้าเมืองได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310
การกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2

ครั้นต่อมา พระยาวชิรปราการได้รวบรวมชุมนุมทั้งหมดที่เมืองจันทร์ แล้วได้ขับไล่พม่า และสามารถกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2 ได้สำเร็จในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 จากนั้นในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 พระยาวชิรปราการได้ทำพิธีปราบดาภิเษกทำนองเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา (แต่นักประวัติศาสตร์นับเป็นสมัยธนบุรี) เฉลิมพระนามว่า "สมเด็จพระบรมราชาที่ 4" แต่ส่วนมากคนมักเรียกท่านว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขณะมีพระชนมายุได้ 33 พรรษา ก่อนจะย้ายราชธานีไปยังกรุงธนบุรีเป็นการชั่วคราว
พระราชวงศ์

ราชวงศ์กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์ คือ
ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 พระองค์